ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
สาละลังกา สาละลังกา
สาละลังกา สาละลังกา
ใบและผล ช่อดอกและดอก
สาละลังกา สาละลังกา
ทรงพุ่ม ลักษณะการติดของผล
 
สาละลังกา
ชื่ออื่นๆ: ลูกปืนใหญ่ (ชลบุรี)
ชื่อสามัญ: Cannon-ball Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Couroupita guianensis Aubl.
วงศ์: LECYTHIDACEAE
ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป: ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ทรงพุ่มโปร่งสวยงาม
ฤดูการออกดอก: ที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีการออกดอก แต่จากการค้นคว้าพบว่าออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม: หอมอ่อนตลอดวัน
การขยายพันธุ์:
การเพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
เป็นพันธุ์ไม้ราคาถูก (เพาะจากเมล็ด) และราคาจะแพงเมื่อต้นโตแล้ว (ไม้บอนใช้ในการจัดสวน)
หากปลูกกลางแจ้งจะมีรูปทรงที่สวยงาม ไม่มีความจำเป็นต้องตัดแต่งทรงพุ่ม
ช่อดอกขนาดใหญ่และมีดอกจำนวนมากในแต่ละช่อดอก ดอกทะยอยบาน จึงทำให้สามารถชื่นชมได้หลายวัน
ดอกมีขนาดใหญ่ สีสันสดสวยงามมาก
เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมใช้ในการออกแบบจัดสวน ต้นใหญ่ๆ ราคาไม่แตกต่างจากลีลาวดีหรอกครับ
ข้อแนะนำ:
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ปลูกขนาด 6X6 ม. (เมื่อโตเต็มที่) ดังนั้นก่อนตัดสินใจว่าจะปลูกสาละลังกา ควรคำนึงถึงพื้นที่ที่มีอยู่ก่อน แนะนำว่าปลูกเพียง 1 ต้นก็เพียงพอแล้ว
ใช้เวลาหลายปีกว่าจะเริ่มออกดอก (ที่สวนไม้หอมฯ ปลูกมา 2 ปียังไม่ออกดอก แต่ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ออกดอก ผู้รวบรวมถ่ายรูปที่เห็นมาจากบริเวณโบสถ์เก่า วัดมหาธาตุวรวิหาร อ. เมือง จ. เพชรบุรี ซึ่งมีสภาพดินไม่ค่อยดีนักยังสามารถออกดอกได้)
ข้อมูลอื่นๆ:
เพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่สวยงาม ควรปลูกกลางแจ้งห่างจากต้นไม้อื่นๆ อย่างน้อย 6 ม.
เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมใช้ในการจัดสวนขนาดใหญ่ ท่านใดที่มีพื้นที่มากๆ ควรปลูกไว้
หมายเหตุ: ภาพด้านบนถ่ายมาจากวัดมหาธาตุวรวิหาร อ. เมือง จ. เพชรบุรี อยู่ใจกลางเมืองเพชรบุรีเลยครับ เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม (พระปรางค์สวยที่สุดในภาคกลาง) หากแวะไปไหว้พระที่วัด สังเกตเจดีย์ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือหน้าโบสถ์ สาละต้นใหญ่อยู่ตรงนั้น
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า (827)
2. Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (151)
3. ขอขอบคุณ แม่ชี ละมูล วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อ. เมือง จ. สมุทรสงคราม 75000
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม