หน้าฝน, แก้หวัด, วิตามินแก้หวัด, วิตามินซี, วิตามินดี, สังกะสี, วิตามินอี, เบต้าแคโรทีน

4 วิตามินแก้หวัด เพิ่มภูมิคุ้มกันรับหน้าฝน

วิตามินแก้หวัด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน สำหรับหน้าฝน

ช่วงนี้ฝนตกแทบทุกวัน ตกหนัก ตกนาน เวลาจะออกไปไหนก็ต้องโดนฝน เจออากาศเปลี่ยนแปลงทีก็อาจเจ็บป่วยได้ง่าย ชีวจิต เลยขอเสนอ 4 วิตามินแก้หวัด (รวมถึงแร่ธาตุ) ที่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านหวัดและภูมิแพ้ ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่จะแนะนำต่อไปนี้มีการศึกษาพบว่า  มีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรค  แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีคำแนะนำที่แน่ชัดถึงปริมาณ  ความปลอดภัย  และระยะเวลาในการใช้ที่เหมาะสม

วิตามินซี

งานวิจัยล่าสุดโดยวารสาร The Cochrane Database of Systematic Reviews พบว่า วิตามินซีไม่ได้ช่วยป้องกันโรคหวัด แต่สามารถช่วยให้โรคหวัดหายเร็วขึ้น

นอกจากนี้หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำเพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาของโรคคือ วันละ 1-3 กรัม แต่ควรกินต่อเนื่องกันสักระยะหนึ่ง เพราะหากกินตอนเริ่มเป็นหวัดแล้วจะไม่สามารถช่วยลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้

วิตามินซี, วิตามินแก้หวัด, วิตามิน, ป้องกันโรคหวัด, โรคหวัด

นอกจากนี้หากต้องการเสริมวิตามินซีควรกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยอาจแบ่งกินเช้าและเย็น หรือเช้า กลางวัน เย็น ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินซีที่กินใน 1 วัน โดยวิธีแบ่งกิน
หลายครั้งช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินซีได้ดีกว่าการกินในครั้งเดียว

สำหรับปริมาณวิตามินที่ควรได้รับจากอาหารประจำวัน ข้อมูลจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับ
คนไทยแนะนำให้ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปควรได้รับวิตามินซีจากอาหารวันละ90 มิลลิกรัม และผู้หญิงค วรได้รับ
วิตามินซีจากอาหารวันละ 75 มิลลิกรัม

กินอย่างไร

ผักที่มีวิตามินซีสู ง เช่น พริกหวาน มะระขี้นก ผักเหลียง ผักหวานบ้าน มะเขือเทศ ตำลึง ดอกแค ผักกระเฉด ผักกาดขาว ผักโขม ผักคะน้า พริก มะกอกไทย มะขามป้อม กะหล่ำปลี แครอต กะหล่ำดอก ส่วนผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่งแป้นสีทอง ลิ้นจี่จักรพรรดิ เงาะโรงเรียน มะละกอแขกดำ มะม่วงเขียวเสวยดิบ ส้ม เชอร์รี่ มะละกอสุก กล้วย สับปะรด

ข้อควรระวัง

ไม่ควรเสริมวิตามินซีเกินวันละ 1,000 มิลลิกรัม เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้อง เพิ่มความเสี่ยงโรคนิ่วในไต และหากกินวิตามินซีเม็ดเสริมในปริมาณสูงเป็นประจำ เมื่อหยุดกินทันทีอาจเสี่ยงเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือผู้ที่มีภาวะเหล็กเกิน (Iron Overload) ควรหลีกเลี่ยงการกินวิตามินซีปริมาณสูง เพราะวิตามินซีมีผลช่วยเพิ่มการดูดซึม ธาตุเหล็ก จึงอาจทำให้มีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ หัวใจ ไต ระบบต่อมไร้ท่อ นำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตับ เป็นพังผืด ตับวาย ไปจนถึงขั้น เสียชีวิตได้

วิตามินดี

วารสาร The British Medical Journal ทำการศึกษากับอาสาสมัคร 11,000 คนทั่วโลก โดยการเก็บข้อมูลผล
ของวิตามินดีกับโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดบวม

พบว่า การเสริมวิตามินดีเป็นประจำอาจมีผลช่วยลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ศาสตราจารย์เอเดรียน  มาร์ติโน (Adrian Martineau) จากควีนแมรี มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน (Queen Mary University of London) อังกฤษ อธิบายว่า วิตามินดีอาจช่วยเพิ่มระดับเปปไทด์ต้านจุลชีพ (Antimicrobial Peptides) เปปไทด์สายสั้นมีบทบาทสำคัญในกลไกการป้องกันตัวของร่างกาย (Host Defense Mechanism) ต่อการบุกรุกของเชื้อจุลชีพก่อโรค และทำหน้าที่คล้ายยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติในการต่อต้านเชื้อก่อโรคภายในปอด

วิตามินดี, วิตามินแก้หวัด, วิตามิน, ป้องกันโรคหวัด, โรคหวัด
แสงแดดอ่อนๆ ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี

นอกจากนี้รายงานจากวารสาร European Respiratory ยังพบว่า วิตามินดีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหืดกำเริบรุนแรงชนิดที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน รวมถึงพบว่า วิตามินดีช่วยลดอัตราการเกิดโรค
หืดที่ต้องรักษาด้วยยาเม็ดสเตียรอยด์ (Steroid) แต่ทั้งนี้นักวิจัยสรุปว่า แม้พบว่าวิตามินดีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหืด แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าใช้ได้ผลกับทุกคน นอกจากนี้การเสริมวิตามินดี อาจให้ผลดีกับเฉพาะผู้ที่ขาดหรือมีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำเท่านั้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองเพื่อหาคำตอบและยืนยันผลการศึกษาต่อไป

ข้อควรระวัง

วิตามินดีจากแสงแดดและอาหารนั้นปลอดภัยกว่าวิตามินดีในรูปแบบเม็ดที่หากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น กระหายน้ำมาก เบื่ออาหาร ปวดกระดูก เหนื่อยง่าย เจ็บตา คันบริเวณผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ฉะนั้นหากต้องการกินวิตามินดีในรูปอาหารเสริมควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล

มีต่อ อ่านหน้าต่อไป

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.