กลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

กลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน เป็นกลุ่มคนที่สวมเสื้อสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 มีลักษณะการเคลื่อนไหวเป็นการต่อต้านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง

กลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. และมีข้อความที่หน้าอกเสื้อว่า "ปกป้องสถาบัน" ส่วนด้านหลัง "สงบ สันติ สามัคคี" ที่ผ่านการฝึก อบรมในโครงการอาสาสมัครพิทักษ์สถาบัน "รุ่นผู้นำทางความคิด" ได้ ออกมารวมพลังประกาศเจตนารมณ์ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จากนั้น เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อร่วมดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ และคัดค้านการกระทำของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งมีพฤติกรรมส่อไปในทางลบหลู่สถาบันพระมหากษัตริย์ และองคมนตรี โดยจัดกำลังเฝ้าระวังประตูทุกจุดรอบศาลากลาง เพื่อตรวจตราคนเข้าออก บุคคลแปลกหน้า หรือผู้ต้องสงสัย ที่จะเข้าไปก่อเหตุรุนแรง หรือก่อความไม่สงบภายในศาลากลางจังหวัด [1]

จากนั้นกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินได้ปะทะกับกลุ่ม นปช. หลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่หนักที่สุดคือ เมื่อเช้าวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552 ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมื่อนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรองได้นำพากลุ่มแนวร่วม นปช. บุกขึ้นไปเพื่อล้มการประชุมสุดยอดอาเชียนที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา ทั้งสองกลุ่มนี้ได้ปะทะกันด้วยอาวุธต่าง ๆ มากมาย ทั้ง ระเบิดและปืน[2]

จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้ออกมากล่าวหาว่า กลุ่มคนเสื้อน้ำเงินนี้เป็นการจัดตั้งขึ้นมาโดย นายเนวิน ชิดชอบ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แต่ทั้งสองได้ปฏิเสธ[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. ม็อบเสื้อน้ำเงินบุรีรัมย์เคลื่อนไหวปกป้องสถาบัน[ลิงก์เสีย]
  2. เสื้อแดงปะทะเสื้อน้ำเงินบาดเจ็บ 2
  3. เสื้อแดงแฉเนวินอยู่เบื้องหลังเสื้อน้ำเงิน
  4. "ภาพอารมณ์ห้ำหั่น"เนวิน"บัญชาการ "เสื้อน้ำเงิน" เป็นทัพหน้าและทัพหนุน ต้านม็อบเสื้อแดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-20.